บทความเรื่อง วัยรุ่นกับการมีเพศสัมพันธ์

วัยรุ่น กับ การมีเพศสัมพันธ์

ศ.พญ.นงพงา ลิ้มสุวรรณ/จากหนังสือคู่มือ เลี้ยงลูกถูกวิธีชีวีเป็นสุข

 

 

14 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันวาเลนไทน์ ซึ่งหลายคนก็บอกว่าเป็นวันแห่งความรัก และมีค่านิยมบางอย่างของวัยรุ่นบางคนที่ใช้วันแห่งความรักเป็นวันแห่งการ “เสียตัว” หรือการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งในสังคมไทยหรืออีกหลายประเทศถือว่ายังเป็นช่วงวัยที่ยังไม่ถึงเวลาอันควร เป็นปัญหาที่สร้างความหนักอกให้กับบรรดาคุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายเป็นอย่างยิ่งกับค่านิยมดังกล่าว เพราะจะทำให้เกิดปัญหาตามมาอีกมากมายโดยเฉพาะปัญหาทางด้านสุขภาพจิตและจิตเวชที่หลายคนไม่อาจคาดเดาได้ 

บทความที่จะนำเสนอต่อไปนี้ ได้รับความอนุเคระห์จากผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านจิตเวชเด็กและวัยรุ่นของประเทศไทย คือท่าน ศ.พญ.นงพงา ลิ้มสุวรรณ ที่ได้กรุณาทีมงานกรมสุขภาพจิต มอบบทความอันทรงคุณค่าสำหรับประชาชนหลายคนที่สนใจติดตามบทความของอาจารย์อย่างมากมาย ทางเวปป์ไซด์กรมสุขภาพจิต (ซึ่งดูได้จากเรตติ้งการอ่านสูงสุดอันดับต้นๆหลายบทความ) สำหรับนำเสนอต่อประชาชนที่สนใจข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพจิตและจิตเวช เรื่อง “วัยรุ่น กับ การมีเพศสัมพันธ์” 

ท่านที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมสามารถอ่านได้จาก หนังสือคู่มือ “เลี้ยงลูกถูกวิธีชีวีเป็นสุข” ได้ค่ะ

 

เพศสัมพันธ์ เพศสัมพันธ์ เพศสัมพันธ์ เป็นคำที่ต่างเพศต่างวัยต่างสถานการณ์ ฟังแล้วรู้สึกไปได้หลายแบบหลายอย่างจนแทบไม่น่าเชื่อ ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องธรรมชาติของคนเรา เป็นเรื่องที่คู่กับคนมาตั้งแต่มีคนเกิดขึ้นในโลกนี้คู่แรก จนขณะนี้คนก็สืบพันธุ์แพร่ขยายจนพลเมืองโลกมีประมาณ 6 พันล้านแล้ว ทำไมเพศสัมพันธ์จึงยังเป็นอะไรที่ไม่เข้าที่เข้าทางหรือทำไมคนทั้งโลกจำนวนไม่น้อยเลยยังไม่สามารถมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ให้เกิดปัญหากับตัวเอง ไม่ทำให้ตัวเองเดือดร้อน เป็นทุกข์ใจทุกข์กาย หรือเหตุใดคนจำนวนหนึ่งยังคงมีเพศสัมพันธ์อย่างไม่เหมาะสม คือไม่เพียงแต่จะทำความเดือดร้อนใจและกายอย่างแสนสาหัส เหมือนแต่โบราณมาเท่านั่น เพศสัมพันธ์ในปัจจุบันยังอาจนำไปสู่ความตายได้ เช่น ตายจากโรคเอดส์ ตายจากการฆ่ากันด้วยความแค้น ความหึงหวง ความตาย! ใครๆ ก็กลัว ใครๆ ก็ไม่อยากตาย ทุกคนจึงน่าจะหันมาสนใจเรื่องเพศสัมพันธ์ให้มากจะได้ไม่เดือดร้อน จะได้ไม่ต้องตายโดยไม่จำเป็น เพราะทุกชีวิตที่เกิดมาแล้วกว่าจะฝ่าฟันชีวิตจนโตพอที่จะมีเพศสัมพันธ์ได้ก็นับว่าเป็นชีวิตที่แสนจะมีค่า เราจึงต้องทะนุถนอมชีวิตและจิตใจของเราเองเพื่อตัวเรา เพื่อคนที่เรารัก และเพื่อคนที่รักเรา และเพื่อคนที่รักเราด้วยจึงน่าจะเป็นสิ่งที่ดีงามและสบายใจด้วยกันทั้งหมด

ผู้เขียนเป็นจิตแพทย์จึงมีโอกาสพบเห็นวัยรุ่นที่เดือดร้อนจากเรื่องเพศสัมพันธ์มาเล่าให้ฟัง เช่น

วัยรุ่นหญิงคนหนึ่ง ซึ่งเรียนอยู่ ปวช. ปีสุดท้ายได้กินยาจำนวนมากเพื่อฆ่าตัวตาย หนีปัญหาชีวิตเพราะความเครียดจัด และมองไม่เห็นทางออกอย่างอื่น คงโชคดีสักนิดที่วิธีฆ่าตัวตายไม่รุนแรง แพทย์จึงช่วยชีวิตไว้ได้เพราะยาที่กินบังเอิญสามารถแก้ฤทธิ์ได้ แต่ยาบางชนิดที่กินโดยผู้พยายามฆ่าตัวตายบางคนแพทย์จะช่วยไม่ได้ ผู้เขียนจึงถูกตามเพื่อช่วยแก้ปัญหาของเด็กสาวผู้นี้ ไม่เช่นนั้นถ้าแพทย์ปล่อยให้เธอกลับบ้านทั้งๆ ที่ยังแบกปัญหาอยู่ เด็กสาวผู้นี้อาจกลับไปฆ่าตัวตายซ้ำอีกได้

จากการสัมภาษณ์พูดคุยพบว่า วัยรุ่นผู้นี้ท้องถึง 6 เดือนกว่าแล้ว แฟนหนุ่มซึ่งเป็นนักเรียนเช่นกันไม่ยอมรับรู้ใดๆ ทั้งสิ้น ทำตัวหายหน้าหายตาไปเลย หลบเลี่ยงไม่ยอมมาพบเจอทั้งสิ้น ฝ่ายหญิงก็พยายามหาทางออกโดยบุกบั่นไปถึงบ้านพ่อแม่ของแฟนหวังพึ่งผู้ใหญ่ให้ช่วยแก้ปัญหา แต่เธอกลับได้รับความช้ำใจยิ่งนัก เพราะพ่อแม่แฟนกลับบอกว่าจะมั่นใจได้อย่างไรว่าเธอท้องกับลูกชายของเขา เธออาจไปท้องกับใครมาก็ได้แล้วจะมาให้ลูกชายเขารับเป็นพ่อ เธอจึงเสียใจมากที่ถูกดูถูกเหยียดหยาม ในที่สุดท้องก็โตขึ้นทุกวันไม่สามารถจะปิดบังได้อีกต่อไป จึงตัดสินใจนำเรื่องไปปรึกษาพ่อแม่ตัวเอง พ่อแม่ของเธอก็เช่นกันไม่เป็นที่พึ่งได้กลับด่าว่าลูกสาวตัวเองมากมาย เช่น แม่ว่าส่งให้เรียนหนังสือ ทำไมใจง่ายไปเที่ยวนอนกับผู้ชายจนท้อง ไม่รักดี ใจง่าย โง่ ปล่อยให้ผู้ชายหลอก “ฟัน” เล่นๆ แล้วสลัดทิ้งแบบไม่ใยดี แบบไม่มีค่าอะไรเลย พร้อมบอกว่าพ่อแม่ไม่รู้จะแก้ปัญหาอย่างไร ผูกเองก็แก้เอง ถ้าปล่อยให้ท้องก็ไม่ต้องเรียนหนังสือต่อแล้ว พ่อแม่จะไม่ส่งเรียนต่อ ถ้าจะเรียนก็ต้องไม่ท้อง พ่อแม่เองก็ฐานะไม่ดีมากเงินทองก็มีจำกัด ถ้าปล่อยให้ท้องต่อก็ไม่มีปัญญาจะเลี้ยงหลานให้ คือไม่ต้องการเด็กในท้องอย่างแน่นอน

วัยรุ่นสาวผู้นี้อายุยังไม่ครบยี่สิบปี ยังมีความอ่อนต่อโลกมากนัก เมื่อพบความเครียด ความทุกข์ ปัญหาหนักขนาดนี้ หันหน้าไปไหนก็ไม่มีใครช่วย แม้กระทั่งพ่อแม่ตัวเองก็ไม่ช่วย จึงรู้สึกสับสน เสียใจ ผิดหวังซ้ำซ้อน ไม่มีทางออกจึงคิดจบปัญหาด้วยความตายนั่นเอง เพราะจะไปทำแท้งก็ไม่มีเงินพอ อีกทั้งท้องก็มีอายุมากเกินกว่าจะทำแท้งได้แล้ว อันตรายเกินไป

จิตแพทย์ฟังแล้วสามารถเข้าใจถึงความกดดันที่เด็กสาววัยรุ่นผู้นี้ได้รับ จึงคิดปรึกษาหาทางออกด้วยกันว่าเธอไม่จำเป็นต้องทำลายชีวิตตัวเองและลูกเพื่อแก้ปัญหา เพราะมีมูลนิธิที่สังคมได้ตั้งขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือเรื่องแบบนี้โดยเฉพาะ เธอสามารถไปอาศัยอยู่ที่นั่นจนกระทั่งคลอดลูก แล้วทางมูลนิธิจะรับเลี้ยงลูกให้จนกระทั่งหาพ่อแม่ที่จะมารับไปเป็นลูกบุญธรรมต่อไป ส่วนตัวแม่เองหลังคลอดพักฟื้นแล้วก็สามารถกลับไปเรียนต่อจนจบได้ เรื่องจึงลงเอยได้ด้วยดีพอประมาณ แต่วัยรุ่นทุกคนที่มีเพศสัมพันธ์แบบไม่เหมาะสมอาจประสบชะตากรรมร้ายแรงกว่าคนนี้ เช่น พอพบว่าท้องก็ไปพยายามทำแท้งกับหมอเถื่อน ซึ่งมีโอกาสจะติดเชื้อโรคแล้วตายจากการติดเชื้อ ซึ่งพบอยู่เป็นประจำเพราะหมอเถือนเขาทำไม่ถูกต้องเครื่องมือก็สกปรก บางครั้งก็ทำมดลูกทะลุก็มี น่ากลัวจริงๆ

วัยรุ่นตัวอย่างที่หมอเล่าให้ฟังนี้ ไม่ใช่จะพ้นปัญหาไปอย่างไม่เหลืออะไรติดค้างในใจเพราะลึกๆ เขาอาจรู้สึกบาป ที่ได้ทอดทิ้งลูกตัวเองไป อาจรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนไม่ดี ฉะนั้นในอนาคตถ้าชีวิตต้องเผชิญอะไรไม่ดี เธออาจคิดผูกโยงมากับเรื่องที่เกิดขึ้นได้ว่า เพราะเธอทำบาปไว้จึงต้องประสบชะตากรรมไม่ดี คิดในทำนองกรรมตามสนอง แม้ในการให้คำปรึกษา จิตแพทย์จะพยายามให้ความคิดเหล่านี้ไม่ตกค้างต่อไป เช่น พูดว่าความผิดพลาดของชีวิตย่อมเกิดขึ้นได้ และการแก้ปัญหานั้นก็ดีที่สุดสำหรับทุกคนที่เกี่ยวข้องแล้ว ลูกที่มีคนรับไปเลี้ยง เขาก็จะมีชีวิตที่ดีกว่า เพราะเราไม่พร้อมจะเลี้ยงเขา และเขาไม่เป็นที่ยอมรับของปู่ย่าตายายและพ่อของตัวเอง จึงน่าจะปล่อยเขาไปมีชีวิตที่ดีกว่ากับคนที่พร้อมกว่า กับคนที่ยอมรับเขาและรักเขา แม่ที่ยกลูกให้คนอื่นมักจะยังมีความทรงจำเรื่องนี้อยู่ ทำอย่างไรก็ไม่สามารถจะลืมเรื่องราวเหมือนกับมันไม่เคยเกิดขึ้นได้ แต่จะทำใจได้แค่ไหนนั้นเป็นอีกเรื่อง ดังนั้นทางที่ดีที่สุดคืออย่าให้เกิดเรื่องแบบนี้ขึ้นจะดีกว่ามาก จะได้ไม่มีตราบาปในใจไปตลอดชีวิต

เรื่องวัยรุ่นสาวท้องไม่มีพ่อ ท้องตอนเป็นนักเรียน หรือท้องโดยยังไม่ได้แต่งงานไม่ใช่เรื่องใหม่ มันเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าตั้งแต่หมอจำความได้ จนบัดนี้ทำงานมาหลายสิบปี เรื่องแบบนี้ก็ยังเกิดขึ้นตลอดเวลาในสังคม เกิดขึ้นจนพ่อแม่กลัว พ่อแม่บางคนกลัวมากไปพลอยทำให้ลูกสาวเดือดร้อน ขาดโอกาสในชีวิตไปเลยก็มี เช่น 

ญาติรุ่นพี่ของหมอคนหนึ่งอยู่ต่างจังหวัดซึ่งเป็นคนหัวดีเรียนเก่ง แต่พ่อแม่ไม่ยอมให้มาเรียนต่อกรุงเทพฯ ด้วยกลัวลูกสาวจะมาเสียคนเพราะห่างไกลพ่อแม่ เนื่องจากลูกสาวข้างบ้านมาเรียนที่กรุงเทพฯ แล้วก็มาท้องตอนเป็นนักเรียนนี่แหละที่ทำให้เขากลัวญาติผู้นี้ของหมอเลยหมดโอกาสที่จะได้รับการศึกษาที่ดีเท่าที่ควร ต้องใช้ชีวิตแบบหญิงชาวบ้านที่จบประถม 4 คือต่อมาก็แต่งงานมีลูกเลี้ยงลูกไปทำงานบ้านไป ชีวิตของเขาต้องขึ้นอยู่กับสามีและลูก ถ้าสามีและลูกดีชีวิตก็ดีไม่มีปัญหา ถ้าเจอสามีและลูกไม่ดีก็ต้องช้ำใจ ไม่มีทางเลือกอื่นเหลือไว้ให้มากนัก

คำถามจึงมีอยู่ว่า ทำไมเรื่องแบบนี้จึงเกิดแล้วเกิดอีก ป้องกันไม่ได้เลยหรือเรื่องเพศเป็นเรื่องไม่ดีหรือไม่ ไม่ใช่แน่ เรื่องเพศสัมพันธ์ก็เหมือนดาบสองคม ใช้เป็นจะดี ให้ความสุข ใช้ไม่เป็นจะเป็นทุกข์เหมือนโดนมีดบาด ดังนั้นเรื่องนี้คงเกิดจากความไม่เข้าใจ ความไม่รู้ การรู้ไม่เท่าทันโลกของทั้งวัยรุ่นชายและหญิง เพราะสังคมของเราไม่มีการเรียนรู้เรื่องเพศให้เป็นกิจจะลักษณะ ไม่มีการให้เพศศึกษาที่ถูกต้องให้เด็กโตขึ้นมาไปเรียนรู้เอาเองตามยถากรรม ผิดๆ ถูกๆ ตามเรื่องตามราว จึงเกิดเรื่องได้บ่อยๆ วัยรุ่นที่อยู่ห่างไกลสายตาพ่อแม่จึงมีโอกาสผิดพลาดสูงกว่าวัยรุ่นที่พ่อแม่คอยดูแลใกล้ชิด ซึ่งก็อาจใกล้ชิดจนวัยรุ่นอึดอัดจนอกจะแตกได้เช่นกัน

การให้ความรู้กับลูกเรื่องเพศจึงเป็นเรื่องสำคัญ ควรให้ตั้งแต่เด็กเลย (ขอเชิญผู้สนใจหาอ่านได้จากหนังสือของหมอชื่อ “เลี้ยงลูกถูกวิธีชีวีเป็นสุข” ในบท สอนลูกเรื่องเพศ) แต่ในที่นี้จะพูดเฉพาะในวัยรุ่น

ศ.พญ.นงพงา ลิ้มสุวรรณ ผู้เขียน

 

*******************************************

แหล่งข้อมูล: บทความพิเศษ จาก ศาสตราจารย์แพทย์หญิงนงพงา ลิ้มสุวรรณ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ รพ.รามาธิบดี

แบบฝึกหัดบทที่ 8 การใช้สารสนเทศตามกฎหมายและจริยธรรม

แบบฝึกหัด

บทที่8 การใช้สารสนเทศตามกฎหมายและจริยธรรม                                                                        กลุ่มเรียนที่1

รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุดใหม่ในชีวิตประจำวัน                                                                     รหัสวิชา0026 008

ชื่อนางสาวปติญญา  โคตะ                                                                                                            รหัส56010111558

คำชี้แจง  จงพิจารณากรณีศึกษานี้

 

1.)”นายAทำการเขียนโปรแกรมขึ้นมาโปรแกรมหนึ่งเพื่อทดลองโจมตีการทำงานของคอมพิวเตอร์สามารถใช้งานได้ โดยทำการระบุ IP-Address โปรแกรมนี้สร้างขึ้นมาเพื่อทดลองในงานวิจัย นายBที่เป็นเพื่อนสนิทของนายAได้นำโปรแกรมนี้ไปทดลองใช้แกล้งนางสาวCเมื่อนางสาวCทราบเข้าก็เลยนำโปรแกรมนี้ไปใช้และส่งต่อให้เพื่อนๆที่รู้จักได้ทดลอง”การกระทำอย่างนี้เป็นการผิดจริยธรรมหรือผิดกฎหมายใดๆหรือไม่ หากไม่ผิดเพราะเหตุใด และหากผิด ผิดในแง่ใด จงอธิบาย

           ตอบ  ไม่ผิดกฎหมาย เพราะว่านายAไม่ได้จดทะเบียนลิขสิทธิ์โปรแกรมที่ตัวเองเขียนขึ้น ซึ่งถ้าหากนายAฟ้องร้องก็ไม่สามารถทำได้  แต่ผิดจริยธรรม เพราะนายBแอบขโมยเอาโปรแกรมของนายAไปใช้โดยไม่ขออนุญาตนายAซึ่งอาจทำให้นายAไม่พอใจก็ได้

 

2.)”นายJได้ทำการสร้างโฮมเพจ เพื่อบอกว่าโลกแบนมีหลักฐานอ้างอิงจากตำราต่างๆอีกทั้งรูปประกอบ เป็นการทำเพื่อความสนุกสนาน ไม่ได้ใช้ในการอ้างอิงทางวิชาการใดๆเด็กชายKเป็นนักเรียนในระดับประถมปลายที่ทำรายงานส่งครูเป็นการบ้านภาคฤดูร้อนโดยใช้ข้อมูลจากโฮมเพจของนายJ”การกระทำอย่างนี้เป็นการผิดจริยธรรมหรือผิดกฎหมายใดๆหรือไม่ หากไม่ผิดเพราะเหตุใด และหากผิด ผิดในแง่ใด จงอธิบาย

             ตอบ  ไม่ผิดเพราะเด็กชายKใช้ในทางการศึกษาแต่เด็กชายKก็ควรจะอ้างอิงถึงแหล่งที่มาของข้อมูลด้วย

แบบฝึกหัดบทที่ 7 ความปลอดภัยของสารสนเทศ

แบบฝึกหัด

บทที่7 ความปลอดภัยของสารสนเทศ                                                                                                   กลุ่มเรียนที่1 

รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุดใหม่ในชีวิตประจำวัน                                                                             รหัสวิชา0026 008

ชื่อนางสาวปติญญา  โคตะ                                                                                                                    รหัส56010111558

คำชี้แจง  จงตอบคำถามต่อไปนี้

1. หน้าที่ของไฟร์วอลล์ (Fire-well) คือ เป็นระบบรักษาความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์แบบหนึ่งที่

นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งมีทั้งอุปกรณ์ Hardware และ Software โดยหน้าที่หลัก ๆ ของ Firewall นั้น

จะทำหน้าที่ควบคุมการใช้งาน

ระหว่าง Network ต่าง ๆ

2.จงอธิบายคำศัทพ์ต่อไปนี้ ที่เกี่ยวข้องกับไวรัสคอมพิวเตอร์ worm,virus computer,spy ware,adware

มาอย่างน้อย 1 โปรแกรม

ตอบ Worm เป็นไวรัสประเภทหนึ่งที่ก่อกวน สามารถทำสำเนาตัวเอง (copy) และแพร่กระจายไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์

เครื่องอื่นๆ ได้ ทำให้คอมพิวเตอร์ส่วนตัว และในระบบเครือข่ายเสียหายไวรัส วอร์ม นี้ปัจจุบันมีหลากหลายมาก มีการแพร่

กระจายของไวรัสได้รวดเร็วมาก ทั้งนี้เนื่องจากไวรัส วอร์ม จะสามารถแพร่กระจายผ่านทางอีเมล์ได้ ไม่ว่าจะเป็น

Outlook Express หรือ Microsoft Outlook

3.ไวรัสคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง

ตอบ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ Application viruses และ System viruses

 

4..ให้นิสิตอธิบายแนวทางในการป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์มาอย่างน้อย 5 ข้อ

ตอบ  1.สร้างแผ่นบูต emergency disk เพื่อใช้ช่วยในการกู้ระบบ การสร้างแผ่น emergency disk

หรือบางครั้งอาจเรียกว่า Rescure disk นั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ถ้าเครื่องติดไวรัสที่ไม่สามารถ

จะกำจัดได้โดยผ่านระบบปฏิบัติการวินโดวส์ หรือผลกระทบของไวรัสที่ทำให้เครื่องไม่สามารถบูต

ได้ตามปกติเราก็สามารถใช้แผ่น emergency diskมาช่วยในการกู้ข้อมูลและกำจัดไวรัสออกจนทำ

ให้บูตเครื่องได้ตามปกติ

         2.ปรับปรุงฐานข้อมูลไวรัสทุกวันหรืออย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง ขั้นตอนนี้เปรียบเสมือนหัวใจ

ของการใช้งานโปรแกรมป้องกันไวรัส เนื่องจากไวรัสคอมพิวเตอร์ถูกพัฒนาออกมาใหม่ทุกวัน

ดังนั้นจึงควรที่จะสอนโปรแกรมป้องกันไวรัสให้รู้จักไวรัสชนิดใหม่ๆด้วย โดยการปรับปรุงฐานข้อมูล

ไวรัสที่ใช้งานนั่นเอง

         3.เปิดใช้งาน auto – protect โดยส่วนใหญ่โปรแกรมป้องกันไวรัสที่ติดตั้งจะทำการสร้าง

โพรเซสที่จะตรวจหาไวรัสตลอดเวลา เพื่อป้องกันไม่ให้ไวรัสสามารถถูกเอ็กซิคิวต์ในเครื่องได้

         4.ก่อนเปิดไฟล์จากแผ่นที่นำมาใช้จากที่อื่นให้สแกนหาไวรัสก่อน แผ่นดิสก์ที่นำไปใช้ที่อื่นแล้ว

นำกลับมาเปิดที่เครื่อง จะมั่นใจได้อย่างไรว่าแผ่นนั้นไม่มีไวรัสอยู่ ดังนั้นควรจะตรวจหาไวรัสใน

แผ่นก่อนที่จะเปิดอ่านข้อมูลที่ถูกบรรจุในแผ่นดิสก์ดังกล่าว

         5.ทำการตรวจหาไวรัสทุกสัปดาห์ ในแต่ละสัปดาห์แน่นอนว่ามีไฟล์ที่ผ่านเข้าออกเครื่องมาก

มายไม่ว่าจะเป็น อี-เมล์ที่ได้รับ ไฟล์ที่ดาวน์โหลดมาจากอินเทอร์เน็ต ตลอดจนไฟล์ชั่วคราวของ

โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ที่เก็บในแต่ละครั้งที่เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ แล้วจะแน่ใจได้อย่างไรว่าไฟล์เหล่า

นั้นไม่มีไวรัสแฝงตัวมา ดังนั้นจึงควรที่จะทำการตรวจหาไวรัส โดยการสแกนหาทั้งระบบ อาจจะเป็น

ทุกเย็นของวันศุกร์ก่อนกลับบ้านก็เป็นได้

 

5.มาตรการด้านจริยธรรมคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการใช้อินเทอเน็ตที่เหมาะสมกับสังคม

ปัจจุบันได้แก่

ตอบ 1. กฏหมายคุ้มครองข้องมูลส่วนบุคคล

        2. กฏหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์

        3. กฏหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

        4. กฏหมายการแลกเปลี่ยนข้อมูงทางอิเล็กทอนิกส์

        5. กฏหมายลายมือชื่ออิเล็กทอนิกส์

        6. กฏหมายการโอนเงินทางอิเล็กทอนิกส์

        7. กฏหมายโทลคมนาคม

        8. กฏหมายระหว่างประเทศ

        9. กฏหมายืั้เกี่ยวเนื่องกับระบบอินเตอร์เน็ต

       10. กฏหมายพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมอิเล็กทอนิกส์และคอมพิวเตอร์

แบบฝึกหัดบทที่6 การประยุกต์ใช้สารสนเทศในชีวิตประจำวัน

แบบฝึกหัด

บทที่6 การประยุกต์ใช้สารสนเทศในชีวิตประจำวัน                                                                          กลุ่มเรียนที่1

รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุดใหม่ในชีวิตประจำวัน                                                                     รหัสวิชา0026 008

ชื่อนางสาวปติญญา  โคตะ                                                                                                          รหัส56010111558

คำชี้แจง จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว

1. การประยุกต์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ เป็นความหมายของข้อใด

    ตอบ    1.เทคโนโลยีสารสนเทศ

2. เทคโนโลยีสารสนเทศใดก่อให้เกิดผลด้านการเสริมสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม?

     ตอบ  2.ระบบการเรียนการสอนทางไกล

3.การฝากถอนเงินผ่านเอทีเอ็ม (ATM) เป็นลักษณะเด่นของเทคโนโลยีสารสนเทศข้อใด

     ตอบ   3.เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่างๆ

4. ข้อใดคือการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ

     ตอบ   4.ถูกทุกข้อ

5. เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึงข้อใด

     ตอบ   3. การเอาเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาสร้างข้อมูลเพิ่มให้กับสารสนเทศ

6. เครื่องมือที่สำคัญในการจัดการสารสนเทศในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร

     ตอบ   4.ถูกทุกข้อ

7. ข้อใดไม่ใช่บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ

     ตอบ   4.เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพ

 8. ข้อใดไม่ใช่อุปกรณ์ที่ช่วยงานด้านสารสนเทศ

     ตอบ  1.เครื่องถ่ายเอกสาร

9. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ เทคโนโลยีสารสนเทศ

     ตอบ  3.ไม่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

10. ข้อใดคือประโยชน์ที่ได้จากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับการเรียน

     ตอบ  4.ถูกทุกข้อ

แบบฝึกหัดบทที่5 การจัดการสารสนเทศ

แบบฝึกหัด

บทที่5 การจัดการสารสนเทศ                                                                                                                  กลุ่มเรียนที่ 1

รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุดใหม่ในชีวิตประจำวัน                                                                                 รหัสวิชา0026 008

ชื่อนางสาวปติญญา โคตะ                                                                                                                       รหัส56010111558

1.จงอธิบายความหมายของการจัดการสารสนเทศ

 ตอบ  การจัดการสารสนเทศ หมายถึง การทำกิจกรรมหลัก ต่างๆ ในการจัดหา การจัดโครงสร้าง (organization) การควบคุม ผลิต การเผยแพร่และการใช้สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานขององค์การทุกประเภทอย่างมีประสิทธิผล ซึ่งสารสนเทศในที่นี้หมายถึงสารสนเทศทุกประเภทที่มีคุณค่าไม่ว่าจะมีแหล่งกำเนิดจากภายในหรือภายนอกองค์การ (Wilson 2003 อ้างใน Kirk, 2005, p.21)

การจัดการสารสนเทศ หมายถึง กระบวนการดำเนินงาน เช่น ทำดรรชนี การจัดหมวดหมู่ การจัดแฟ้มการทำรายการเพื่อการเข้าถึงเอกสารหรือสารสนเทศที่มีการบันทึกไว้ในรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่จดหมายเหตุ

(archive) เชิงประวัติ ถึงข้อมูลดิจิทัล (Middleton, 2002, p.13)

การจัดการสารสนเทศ หมายถึง การดำเนินการกับสารสนเทศในระดับองค์การ ได้แก่ การวางแผน การ จัดสรรงบประมาณ การจัดโครงสร้างองค์การ การจัดเจ้าหน้าที่ การกำหนดทิศทาง การฝึกอบรม และการ

ควบคุมสารสนเทศ (Bent, 1999 อ้างใน Myburgh, 2000, p.10)

กล่าวโดยสรุป การจัดการสารสนเทศ ความหมายถึง การผลิต จัดเก็บ ประมวลผล ค้นหา และเผยแพร่ สารสนเทศโดยจัดให้มีระบบสารสนเทศ การกระจายของสารสนเทศ ทั้งภายในและภายนอกองค์การ โดยมีการนำเทคโนโลยีต่างๆ โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารมาใช้ในการจัดการ รวมทั้งมีนโยบาย หรือ กลยุทธ์ระดับองค์การในการจัดการสารสนเทศ

 

 

 

2.การจัดการสารสนเทศมีความสำคัญต่อบุคคลและต่อองค์การอย่างไร

ตอบ  2.1 ความสำคัญของการจัดการสารสนเทศต่อบุคคล

     การจัดการสารสนเทศมีความสำคัญต่อบุคคลในด้านการดำรงชีวิตประจำวัน การศึกษา และการทำงานประกอบอาชีพ ต่างๆ การจัดการสารสนเทศอย่างเป็นระบบ โดยการจัดทำฐานข้อมูลส่วนบุคคล รวบรวมทั้งข้อมูลการดำรงชีวิต การศึกษา และการทำงานประกอบอาชีพต่างๆ ในการดำรงชีวิตประจำวัน บุคคลย่อมต้องการสารสนเทศหลายด้านเพื่อใช้ชีวิตได้อย่างราบรื่น มีความก้าวหน้า และมีความสุข อาทิ ต้องการสารสนเทศเพื่อการดูแลรักษาสุขภาพ ต้องจัดการค่าใช้จ่ายในครอบครัว ค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล การดูแลอาคารที่อยู่อาศัยต่างๆ ตลอดจนการเลี้ยงดูคนในครอบครัวให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถที่ทำคุณประโยชน์แก่สังคม จึงจำเป็นต้องคัดกรองสารสนเทศที่มีอยู่มากมายจากหลายแหล่งเพื่อจัดเก็บ จัดทำระบบ และเรียกใช้ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วความสำคัญในด้านการศึกษา การจัดการสารสนเทศด้านระบบการศึกษา เอื้ออำนวยให้บุคคลสามารถเลือกระบบการศึกษา การเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสมกับบุคคลแต่ละคน สามารถเรียนรู้และศึกษาได้ตลอดเวลาตามความสนใจเฉพาะตน โดยไม่จำเป็นต้องสอบเข้าศึกษาตามสถาบันการศึกษาที่จัดระบบที่มีชั้นเรียนตลอดไป บุคคลสามารถเลือกศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษา ติดต่อกับสถาบันการศึกษาในระบบเปิดหรือเรียนทางระบบออนไลน์ และเลือกเรียนได้ทุกระดับการศึกษา ทุกวัย นับเป็นปรัชญาการศึกษาตลอดชีวิต ความสำคัญในด้านการทำงาน บุคคลจำเป็นต้องใช้สารสนเทศทั้งที่เกี่ยวข้องกับองค์การ ภาระหน้าที่ ประกอบการทำงานทั้งระดับบริหารและระดับปฏิบัติการ การจัดเก็บสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบตามภารกิจส่วนตน ช่วยสนับสนุนให้สามารถทำงานให้ประสบความสำเร็จได้ทันการณ์ ทันเวลา

2.2 ความสำคัญของการจัดการสารสนเทศต่อองค์การ

    การจัดการสารสนเทศมีความสำคัญต่อองค์การในด้านการบริหารจัดการ การดำเนินงาน และกฎหมาย ดังนี้

      1) ความสำคัญด้านการบริหารจัดการ การบริหารจัดการในยุคโลกาภิวัตน์เป็นการบริหารภายใต้สภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และมีการแข่งขันกันทางธุรกิจสูง ผู้บริหารต้องอาศัยสารสนเทศที่เกี่ยวข้องทั้งกับสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์การ เพื่อวิเคราะห์ปัญหา ทางเลือกในการแก้ปัญหา การตัดสินใจ การกำหนดทิศทางขององค์การ ให้สามารถแข่งขันกับองค์การคู่แข่งต่างๆ จึงจำเป็นต้องได้รับสารสนเทศ ที่เหมาะสม ถูกต้อง ครบถ้วน ทันการณ์ และทันสมัย เพื่อใช้ประกอบภารกิจตามหน้าที่ ตามระดับการบริหาร การจัดการสารสนเทศจึงนับว่ามีความสำคัญ ความจำเป็นที่ต้องมีการออกแบบระบบการจัดการสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ การเลือกใช้เครื่องมือ เทคโนโลยี รวมทั้งกำหนดนโยบาย กระบวนการและกฎระเบียบ เพื่อจัดการสารสนเทศให้เหมาะกับสภาพการนำสารสนเทศไปใช้ในการบริหารงาน ในระดับต่างๆไม่ว่าจะเป็นระดับต้นหรือปฏิบัติการ ระดับกลาง และระดับสูง ให้สามารถบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

     2) ความสำคัญด้านการดำเนินงาน สารสนเทศนับมีความสำคัญต่อการดำเนินงานในหลายลักษณะ เป็นทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการดำเนินงาน และหลักฐานที่บันทึกการดำเนินงานในด้านต่างๆ ตามที่หน่วยงานดำเนินการ การจัดการสารสนเทศช่วยให้การใช้สารสนเทศเพื่อรองรับการปฏิบัติงานตามกระแสงานหรือขั้นตอน จึงสามารถเพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการดำเนินงาน เอื้อให้เข้าถึงและใช้สารสนเทศได้อย่างสะดวก การเป็นหลักฐานที่บันทึกการดำเนินงานเช่น สัญญาการตกลงลงนามร่วมกิจการระหว่างองค์การ รายงานทางการเงินประจำปี เป็นต้น เป็นสารสนเทศที่หน่วยงานผลิตและใช้ประกอบการดำเนินงานตาม ภาระหน้าที่ ตามข้อกำหนด ระเบียบ และแนวปฏิบัติในองค์การ สารสนเทศเหล่านี้ต้องมีการรวบรวม ประมวล และจัดอย่างเป็นระบบเพื่อให้มีความเป็นปัจจุบัน ถูกต้อง ครบถ้วนและเหมาะสมกับงานนั้น และในการจัดการ สารสนเทศที่แม้สิ้นสุดกระบวนการปฏิบัติงานแล้ว โดยเฉพาะสารสนเทศที่มีคุณค่า ยังต้องมีการจัดเก็บเป็นจดหมายเหตุเพื่อการใช้ประโยชน์

    3) ความสำคัญด้านกฎหมาย การจัดการสารสนเทศเพื่อการดำเนินงาน จำเป็นต้องสอดคล้องกับกฎหมาย กฎ ระเบียบและข้อบังคับทั้งในระดับภายในและภายนอกองค์การ โดยเฉพาะสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการเงินและบัญชีที่ต้องรวบรวมจัดเก็บอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบ รวมทั้งมีการตรวจสอบความถูกต้องทั้งจากหน่วยงานภายในองค์การ หรือจากหน่วยงานภายนอกตามกฎหมาย เช่น ผู้ตรวจสอบบัญชีตามกฎหมายของหน่วยงานราชการ เช่น กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และหน่วยงานเอกชน เป็นต้น เพื่อเป็นการแสดงสถานะทางการเงินขององค์การอย่างถูกต้อง และเป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับต่างๆ อย่างครบถ้วน ทั้งนี้เนื่องจากการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับต้องมีบทลงโทษ

 

 

 

3.พัฒนาการของการจัดการสารสนเทศแบ่งออกเป็นกี่ยุค  อะไรบ้าง

ตอบ  2 ยุค เป็นการจัดการสารสนเทศด้วยระบบมือ และการจัดการสารสนเทศโดยใช้คอมพิวเตอร์

   3.1 การจัดการสารสนเทศด้วยระบบมือ

การจัดการสารสนเทศเริ่มต้นเมื่อมีการสร้างอารยธรรมในด้านการบันทึกความรู้ ราว 2,000 – 8,000 ปีก่อนคริสตศักราช อียิปต์โบราณใช้กระดาษปาปิ รัสเขียนบันทึกข้อมูล หอสมุดอเล็กซานเดรีย (Library of Alexandria) สร้างโดยพระเจ้าปโทเลมีที่ 1 ในช่วง 285 ปีก่อนคริสตศักราช เป็นคลังความรู้ที่ยิ่งใหญที่สุดในโลกยุคโบราณ จัดเก็บกระดาษปาริรัสที่เขียนบันทึกวิชาการแขนงต่างๆ ถึง 7 แสนกว่าม้วนไว้ในกระบอกทรงกลม และต่อมาในได้มีการใช้หนังสัตว์เย็บเป็นรูปเล่มหนังสือ เรียกว่าโคเด็กซ์ (codex) ในสมัยของเปอร์กามัม(Pergamum) แห่งกรีก ในช่วง 197-159 ปีก่อนคริสตศักราช

ช่วงศตวรรษที่ 12 เกิดสถาบันการศึกษาที่เป็นทางการ ห้องสมุดของสถาบันการศึกษา เช่นมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ยังคงจัดระบบหนังสือในลักษณะเดียวกับห้องสมุดวัด นอกจากจัดหนังสือตามสาขาวิชาแล้ว ยังจัดตามขนาด และเลขทะเบียนหนังสือ หนังสือที่สำคัญมากยังคงถูกล่ามโซ่อยู่กับโต๊ะในคริสต์ศตวรรษที่ 15 โยฮานน์ กูเต็นเบิร์ก (Johannes Gutenberg) ชาวเยอรมันคิดเครื่องพิมพ์ขึ้น พิมพ์หนังสือเล่มแรกของยุโรปคือ ไบเบิลในภาษาละติน เมื่อการพิมพ์แพร่ จึงมีการพิมพ์หนังสือ ทั้งตำรา สารคดีบันเทิงคดี พัฒนาเป็นวารสาร หนังสือพิมพ์ จุลสาร กลางศตวรรษที่ 15 กิจการพิมพ์หนังสือมีอยู่ในเมืองใหญ่ๆ ทั่วยุโรป

ศตวรรษที่ 16 กิจการการค้าหนังสือแพร่จากทวีปยุโรปสู่ทวีปอื่นทางเส้นทางการค้าและพัฒนาเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ส่งผลให้หนังสือจัดเป็นส่วนหนึ่งของชนทุกชั้น ลักษณะของหนังสือเปลี่ยนไป ขนาดเล็กลงใช้สะดวกขึ้น ไม่มีสื่อประเภทใดที่เป็นเครื่องมือค้นสื่อที่จัดเก็บแลเผยแพร่ได้อย่างมีประสิทธิภาพเทียบเท่าหนังสือเป็นระยะเวลายาวนาน (Feather 2002 : 24)

การจัดการสารสนเทศในระยะแรก สื่ออยู่ในรูปของสื่อสิ่งพิมพ์ การจัดการสารสนเทศเน้นระบบมือโดยรวบรวมรายชื่อหนังสือที่มีการผลิตและเผยแพร่ และเทคนิคในการจัดเก็บเอกสารระยะแรกเ เป็นการจัดเรียงตามขนาดของรูปเล่มหนังสือ ตามสีของปก ตามลำดับอักษรชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่องหนังสือ เลขทะเบียน ตามลำดับก่อนหลังของหนังสือที่ห้องสมุด หน่วยงานได้รับ และรวมทั้งการกำหนดสัญลักษณ์ขึ้นเป็นตัวเลขและ/หรือตัวอักษรเพื่อแทนเนื้อหาสาระของสิ่งพิมพ์ แสดงให้ทราบว่าจะค้นสื่อที่ต้องการจากที่ใด ฉบับใด หรือจากหน้าใดในการค้น มีการจัดทำบัญชีรายการหนังสือ เอกสาร เป็นเล่มเพื่อใช้ค้นและเป็นบัญชีคุมหนังสือและ

เอกสารด้วย ต่อมายังมีการจัดทำเป็นแคตาล็อก (catalog) หรือบัตรรายการหนังสือ ในระยะแรกเป็นเพียงบัญชีรายชื่ออย่างหยาบๆ ต่อมามีรายละเอียดของหนังสือมากขึ้น และบอกเนื้อหาไว้ในบัญชีรายชื่อด้วย โดยมีการควบคุมบรรณานุกรม (bibliographic control) เป็นการรวบรวมจัดทำบรรณานุกรมหรือรายการทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือค้นหา ค้นคืนสื่อรูปแบบต่างๆ ทั้งหนังสือ สื่อบันทึกเสียง ภาพ และอื่นๆ ที่ประดิษฐ์ขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 19

การจัดเก็บสารสนเทศ ยังมีพัฒนาการระบบการจัดหมวดหมู่ (classification scheme) ใน ค.ศ. 1876 มีการคิดระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือระบบทศนิยมดิวอี้ (Dewey Decimal Classification – DDC) เป็นการวิเคราะห์เนื้อหาสารสนเทศเพื่อกำหนดเป็นหมวดหมู่ใหญ่ ย่อย ลดหลั่นจากเนื้อหากว้างๆ จนถึงเนื้อหาเฉพาะเพื่อให้สัญลักษณ์แทนเนื้อหาสารสนเทศเป็นตัวเลข และต่อมามีการพัฒนาการจัดหมวดหมู่โดยการใช้ตัวอักษรผสมตัวเลข หรือเครื่องหมายอื่นๆ แทนเนื้อหาของสารสนเทศ เป็นการจัดเก็บสิ่งพิมพ์อย่างเป็นระบบ และใช้เครื่องมือค้นจากแคตาล็อก

สำหรับการจัดการสารสนเทศในสำนักงาน ระบบดั้งเดิม ใช้ระบบมือ หรือกำลังคนเป็นหลัก การจัดการเอกสารซึ่งใช้กระดาษระยะแรกจัดเก็บตามการรับเข้า และส่งออกตามลำดับเวลา มีการจัดทำทะเบียนเอกสารรับเข้า – ส่งออกในสมุดรับ – ส่งและจัดทำบัญชีรายการเอกสารด้วยลายมือเป็นรูปเล่ม ต่อมาพัฒนาเป็นจัดเก็บเอกสารโต้ตอบเฉพาะเรื่องไว้ในแฟ้มเรื่องเดียวกันในตู้เก็บเอกสาร โดยพัฒนาเป็นหมวดหมู่ของระบบงานสารบรรณเอกสาร การจัดเก็บ อาจจัดเรียงตามลำดับอักษรชื่อหน่วยงาน ชื่อบุคคล ตามเนื้อหา ตัวเลข ตัวอักษรผสมตัวเลข ลำดับเวลา และตามรหัส และมีการทำดรรชนี กำหนดรหัสสี มีการทำบัตรโยงในตู้เก็บเอกสาร เป็นต้น เพื่อความสะดวกในการค้นหา มีการทำบัญชีรายการสำหรับค้นเอกสารสารบรรณ ที่ต่อมาใช้เครื่องพิมพ์ดีดแทน การเขียน

 

3.2 การจัดการสารสนเทศโดยใช้คอมพิวเตอร์

การจัดการสารสนเทศเกิดขึ้นโดยใช้คอมพิวเตอร์ เมื่อสารสนเทศมีปริมาณมากมาย รูปลักษณ์หลากหลายคอมพิวเตอร์มีพัฒนาการของจากอดีตถึงปัจจุบัน ปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว ในระยะแรก ตั้งแต่ ค.ศ. 1946 มีการประดิษฐ์คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่ใช้เทคโนโลยีหลอดสูญญากาศ ใช้ในงานค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ การสำรวจสำมะโนประชากร ซึ่งต่อมา เครื่องคอมพิวเตอร์พัฒนามาใช้เทคโนโลยีทรานซิสเตอร์ มีขนาดเล็กลง และนำมาใช้ในงานทางด้านคณิตศาสตร์และวิศวกรรม ช่วงทศวรรษที่ 1960 คอมพิวเตอร์เริ่มใช้แผงวงจรรวมหรือไอซี และแผงวงจรรวมขนาดใหญ่ และนำมาใช้งานการสื่อสารข้อมูล และงานฐานข้อมูล เพื่อลดภาระงานประจำโดยทรัพยากรอยู่ในรูปของกระดาษ เห็นได้ว่าคอมพิวเตอร์ถูกพัฒนานำมาใช้งานตามสมรรถนะที่เพิ่มขึ้น

ในระยะต่อมาเป็นการนำมาใช้พัฒนาเป็นระบบสารสนเทศในงานเฉพาะทางต่างๆ เช่น ระบบห้องสมุดมีการใช้คอมพิวเตอร์ในการทำบัตรรายการเป็นเครื่องมือช่วยค้นทรัพยากรสารสนเทศทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อโสตทัศนประเภทต่างๆ ระบบงานเอกสารสำนักงานปรับปรุงระบบการทำงานให้เป็นอัตโนมัติมากขึ้นในช่วง ค.ศ.1970 จึงนำมาจัดเก็บข้อมูลซึ่งเป็นข้อมูลจากกระดาษ จัดเก็บในลักษณะแฟ้ มข้อมูล ต่อมา ได้เริ่มพัฒนาระบบจัดการฐานข้อมูล เพื่อเอื้อต่อการจัดการสารสนเทศได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และลดความซ้ำซ้อนขึ้น

พัฒนาการของคอมพิวเตอร์ในระยะหลังเป็นไปอย่างรวดเร็ว และเพิ่มสมรรถนะขึ้นอย่างมากมายตามยุคต่างๆ ในยุคหลังๆ จึงใช้ในงานที่สามารถหาเหตุผลด้วยวิธีการต่างๆ รวมทั้งเลียนแบบวิธีคิดของมนุษย์

ช่วงค.ศ. 1980 เป็นต้นมาพัฒนาการคอมพิวเตอร์ก้าวหน้าขึ้น อาทิ ไมโครคอมพิวเตอร์แม้มีขนาดเล็กลงแต่มีสมรรถนะมากขึ้น มีการใช้คอมพิวเตอร์จัดการสารสนเทศในงานต่างๆ ทั้งการศึกษา การแพทย์ ธุรกิจ เป็นต้น โดยจัดทำระบบฐานข้อมูลช่วยงานด้านต่างๆทั้งการบริหาร การตัดสินใจที่ใช้ง่ายและดีกว่าเดิม ระบบสารสนเทศมุ่งตอบสนองทั้งความต้องการส่วนบุคคลของผู้ใช้ และการตอบสนองความต้องการในการทำงานตามหน้าที่ในองค์การมากขึ้น และเปลี่ยนจากเพิ่มประสิทธิผลไปสู่การใช้งานเชิงกลยุทธ์

การใช้คอมพิวเตอร์ในระยะตั้งแต่ ค.ศ. 1990 เป็นต้นมา การพัฒนาระบบเครือข่ายโดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูล และการใช้อินเทอร์เน็ต ทำให้การจัดการระบบฐานข้อมูลผ่านระบบออนไลน์อย่างกว้างขวาง ขยายการทำงาน การบริการ การค้า ธุรกิจ การคมนาคม การแพทย์ เป็นต้น กระทำได้อย่างกว้างขวางในลักษณะเครือข่ายความร่วมมือใช้สารสนเทศร่วมกัน สื่อสารสารสนเทศทั้งตัวอักษร ภาพ เสียงเพื่อการดำเนินงานระหว่างองค์การของทั้งหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน

 

 

4.จงยกตัวอย่างการจัดการสารสนเทศที่นิสิตใช้ในชีวิตประจำวันมา อย่างน้อย3ตัวอย่าง

ตอบ   1.การจัดการเงินในการใช้จ่ายซื้ออาหาร ข้าวของเครื่องใช้ในแต่ละวัน

         2.การจัดการแบ่งเวลาในการเรียน การพักผ่อน และทำกิจวัตรประจำวันในแต่ละวัน

         3.การจัดการในเรื่องของควบคุมอาหารเพื่อสุขภาพและออกกำลังกายในแต่ละวัน

บทความเกี่ยวกับ “แม่” :)

แม่ 🙂

บทความเพื่อแม่ คัดลอกเรื่องน่ารักๆ ที่ พิง ลำพระเพลิงเขียนมา (อ่านให้จบนะ…ซึ้งมากกกก)
ค่าน้ำนมถ้าให้จัดเรียงความสำคัญของ ’ผู้หญิง’ ในชีวิตเรามาสามอันดับแรก น่าเป็นดังนี้

อันดับที่หนึ่ง คือ “แม่”
อันดับที่สอง คือ “แม่”
อันดับที่สาม คือ “แม่”

ใช่ ครับ ผมกำลังจะพูดถึง “แม่” สิ่งที่เราทุกคนรู้กันดีอยู่แล้ว แต่ว่าอาจมีบ้างบางครั้งที่เราหลงลืมไป จนขาดความใส่ใจกับบุคคลใกล้ตัวท่านนี้
จำได้มั๊ยครับ ครั้งสุดท้ายที่คุณกอดแม่น่ะเมื่อไหร่? อย่าบอกนะว่าคุณอายุมากเกินไปแล้ว…เป็นไปไม่ได้ ไม่มีใครแก่เกินกว่าจะกอดแม่หรอก

ผมอยากอวดแม่ของผมครับ
แม่ผม เป็นคนบ้านนอก เชยๆ ผมชอบนั่งแอบมองแม่เวลาแกเผลอ หล่อนอยากทำอะไร ผมก็ปล่อยให้แกทำ ล่าสุดนี่เธอเหยาะน้ำยาปรับผ้านุ่มลงไปในน้ำสุดท้ายของการอาบน้ำให้หมาด้วย ด้วยเหตุผลของคนซื่อ คือเธอบอกว่า ทำตั้งหลายครั้งแล้ว ก็ไม่เห็นหมามันบ่นอะไร

แม่ผมเรียนมาน้อย เรียกว่าไม่ได้เรียนเลยก็เกือบจะว่าได้ เธอศึกษาทุกอย่างด้วยการจำ เห็นเขาพูดเขาทำอะไรในโฆษณาก็พยายามเอามาใช้กับลูกชาย ครั้งนึงผมน้ำเข้าหู เธออวดภูมิด้วยการบอกให้ผมใช้ไม้สำลีเช็ดหูของ จอห์นสันไมโครบัส

ผู้หญิง คนเดียวกันนี้เองที่ลากครกกับสากกะเบือออกไปตำน้ำพริกมะม่วงนอกบ้าน เพราะเห็นลูกชายกำลังนอนหลับอยู่ในบ้าน ไม่ใช้ตำแค่นอกบ้านนะ แต่เธอออกไปตำนอกรั้วบ้านเลยทีเดียว

ผมกับแม่ ทุกวันนี้เราอาศัยอยู่ด้วยกันที่ต่างจังหวัด ทุกครั้งที่ผมขับรถเข้ามาคุยงานในกรุงเทพฯ เธอยังคงทำกับข้าวใส่กล่องมาให้ผมกินอยู่เสมอ และเธอไม่เคยลืมที่จะเด็ดดอกจำปีหน้าบ้าน มาใส่ในกล่องข้าวด้วยทุกครั้ง
ผมตื้นตัน แต่! แม่ครับ ผมอยากจะบอกแม่ว่า…ดอกจำปีมันไม่อร่อยเลยครับ
เมื่อไม่นานมานี้ครอบครัวของเราได้มีวาสนาไปออกรายการโทรทัศน์ รายการ “ เจาะใจ ”

ผมบอกแม่ว่า “นี่เธอ ชั้นจะพาเธอไปออกโทรทัศน์นะ ดีใจมั๊ย”
แม่อิดออด แบ่งรับแบ่งสู้ “ไม่เอาดีกว่ามั๊งลูก เดี๋ยวเขาถามอะไรแล้วแม่ตอบไม่ได้”

“แม่ ครับ รายการเขาไม่ได้มีสิบหกคำถาม สามตัวช่วย ถามใครก็ได้ ตอบได้สองครั้ง หรือว่าเปลี่ยนคำถาม ถึงแม่จะตอบผิด เกมส์เขาก็ไม่ได้จบลงทันทีซะเมื่อไหร่ นะแม่นะ ไปด้วยกันเถอะนะ”

“ไม่เอาหรอก แม่ไม่ไปดีกว่า”
“เอาน่าแม่ ไปด้วยกันเถอะ”
“ไว้ถึงวันนัดก่อนแล้วกัน แม่จะให้คำตอบ”

แล้ว คำตอบของแม่ก็คือ การตื่นไปทำผมตั้งแต่มืด ร้อยวันพันปีเธอเคยเข้าร้านเสริมสวยกับเขาซะที่ไหน แต่ผมก็รู้ดีว่าเธอไม่ได้ทำเพื่อตัวเอง…เธอทำเพื่อชายไทยทั้งประเทศต่าง หาก!!!!!!!!!!

เรื่องราวแม่มีมากมายไม่รู้จบ เป็นนิทานให้เรานั่งมองได้ไม่รู้เบื่อ ถ้าเราจะหาเวลาว่างๆ นั่งลอบมองดูเธอคนนั้นบ้างเท่านั้นเอง

ผมเชื่อว่า แม่ของพวกเราทุกคนมีมุมน่ารัก ให้เราได้อมยิ้มอยู่เสมอ
เป็นเรื่องน่าแปลก ที่เรามักจะรู้กันอยู่ในใจว่าเรารักผู้หญิงคนนี้ แต่ทว่าเรากลับนั่งกินข้าวกับเธอน้อยกว่าผู้หญิงคนอื่นๆ ซะอีก
เราถูกสอนมาให้รักแม่ แต่เรากลับซื้อของขวัญให้คนอื่นบ่อยกว่าซื้อให้แม่ของเราซะอีก

เดี๋ยว นี้ผมอายุมากขึ้น แม่ก็อายุมากกว่าเราอีกเท่าตัว ผมยังคงนั่งแอบมองแม่อยู่ แม่ผมแก่ลงไปมาก หล่อนจะมีเวลามาโพสต์ท่าให้เรานั่งแอบมองได้อีกสักกี่ปี

บน โลกกลมๆใบนี้ ผมมัวแต่วิ่งวนเร็วจี๋จนแทบจะชนหลังตัวเองอยู่ร่อมร่อ ตลอดเวลาเราไขว่คว้าหาอะไรอยู่ก็ไม่รู้จนเกือบลืมผู้หญิงคนนี้ กว่าจะนึกขึ้นมาได้ เวลาก็ผ่านไปมากมาย

ถ้าบท ความนี้ สะกิดให้ใครนึกถึงแม่ขึ้นมาได้มั่งล่ะก้อ ขอร้องล่ะ อย่าทำได้แค่นั่งมองแม่ เพราะเกรงว่าเพียงแค่นั้นจะไม่ทันการณ์ เราไม่ได้มีเหลือเฟือ…เวลาไม่ได้มีอยู่จริง สิ่งที่เรามี มันเป็นแค่นาฬิกา มันเป็นแค่ปฏิทิน เวลาที่แท้จริงมันเป็นของวัฏจักรเขา

เพราะ ฉะนั้น เรามาเตรียมคำตอบกันเอาไว้ดีกว่า เผื่อมีใครถามเราว่า ครั้งสุดท้ายที่กอดแม่น่ะ มันเมื่อไหร่ เราจะได้ไม่ต้องเสียเวลามานั่งเอียงคอนึกกันอีกว่า ครั้งสุดท้ายที่คุณกอดแม่น่ะเมื่อไหร่? 

บทความ “ธรรมชาติคืออะไร”

ธรรมชาติคืออะไร

                 ธรรมชาติคืออะไร ความหมาย ความเข้าใจ ความเชื่อ ของแต่ละบุคคลแตกทิศแยกแขนงกว้างไกลเกินเชื่อมเข้าหากันได้หรือไม่ที่มาของการรับรู้ของธรรมชาติ เรากำลังเปิดประตูแห่งความยุ่งยาก สู่การถกถามตัวตนจริงแห่งธรรมชาติจุดศูนย์อำนาจธรรมชาติคืออะไร หน้าที่ของธรรมชาติกว้างใหญ่ครอบคลุมอิทธิพลมีกี่ทางจะพาเราพบคำตอบ ตัวตนของธรรมชาติจิตวิญญาณ สัมผัสทางจิตใจคือหนทางถึงธรรมชาติหรือสมองกับระบบวิทยาศาสตร์คือคำตอบพิสูจน์ความจริงตัวตนธรรมชาติ ในจักรวาลนี้ใช่หรือจักรวาลประกอบไปด้วยอะไร จักรวาลเป็นอนูหนึ่งของธรรมชาติทำไมดวงอาทิตย์ ถูกกำหนดให้มาในเวลาเช้าพระจันทร์ สามารถมาเยือนให้เราพบเฉพาะ เมื่ออาทิตย์จากไปเท่านั้นทำไมเจ้าแห่งเวลาจึงเป็นผู้แสดงอำนาจ กำหนดทุกอย่างสมการหรือ ตรรกกะ เกิด พบ จาก จบ สำเร็จ และสู่การสูญสลายสมมุติว่าศูนย์กลางของอำนาจ ทั้งมวลแท้จริงคือกาลเวลาเราเองยังครั่นคร้ามกับความคิดนี้ ไม่อาจยอมให้ใครเชื่อตามเราหากจักรวาลนี้ถูกควบคุมด้วยกาลเวลา ชะตาของสรรพวิถีเก็บไว้ในดวงดาวนพเคราะห์ทั้งหลายเป็น file ,folder .ใช่หรือไม่หากเรายอมเชื่อ กาลเวลาคือศูนย์รวมคือธรรมชาติตัวจริงมนุษย์เองก็ล้วนถูกกำหนดหน้าที่เช่นกัน หน้าที่ เพื่ออะไร ทำไมสำคัญอย่างแปลกมากคือ บนโลกนี้ มนุษย์สามารถเพิ่มปริมาณได้เร็วมาก เหมือนเชื้อรา แตกสปอร์กันออกไประหว่างทางของสรรพวิถีตามดวงดาว ต้องเริ่มด้วยสมการ การ เกิด พบ จาก จบ ค้นหา มีเป้าหมาย และสู่การสูญสลายระยะเวลาของมนุษย์เริ่มขึ้น เมื่อเทียบระยะเวลาอายุของแกแลกซี่นี้มนุษย์ยังอ่อนด้อยต้อยต่ำเกินจะเข้าใจวิถีจักรวาลตื้นเขินอย่างผิวเผินความซับซ้อนทุกอย่างล้วนเดินตามหมากรุกของกาลเวลาไฉนมนุษย์มีความกล้าหาญ มั่นใจ มุมานะ รอบรู้ ค้นคว้า ประดิษฐ์โยกย้ายด้วยความอัจฉริยะ มนุษย์เริ่มสนุกที่จะเริ่มสร้างสิ่งที่ควบคุมธรรมชาตินั่นคือก้าวแรกของคำตอบว่าทำไมธรรมชาติสร้างมนุษย์ขึ้นมาคำตอบอีกข้อกำลังตามมา ความด้อย เดียงสาผสานความฉลาดพาให้หลงตนเองสามารถยิ่งใหญ่เท่าเทียมธรรมชาติประตูเลห์กลกาลได้เปิดอีกบานใช่หรือไม่กาลเวลา ธรรมชาติตัวตนแท้จริงตามความเข้าใจของคนเขียนยังไม่จบค่ะ กำลังหาหน้าที่ของมนุษย์อย่างตั้งมั่นในสติ

สาเหตุที่เราทำร้ายธรรมชาติ

มนุษย์คิดอย่างหนักแน่นศรัทธา เราพบกัน รู้จักกัน รักกัน จากกัน เห็นต้นไม้ต้นนั้นกล้วยไม้บานงามสะพรั่งช่อนั้น นกตัวนี้เราดั้นด้นเดินหา แมลงหายากพันธุ์ใหม่มนุษย์คิดว่าการเห็นและบันทึกทำด้วยตนเอง คือผลงานของมนุษย์อย่างอ่อนน้อมต่อธรรมชาติ หากเราคิดตรงข้าม ให้ธรรมชาตินำทางหรือเป็นใหญ่กว่าชีวิตของเราธรรมชาติส่งนกตัวนั้นให้เรา ชี้ให้เพื่อนมองแต่ไม่ทัน กาลเวลาพาเจ้าบินไปก่อนมอบกล้วยไม้ช่อสะพรั่งติดตา งามทั้งสีและแสง พร้อมเพื่อนผู้ชื่นชอบกล้วยไม้กลับมองไม่เห็นมอบแสงตะวันสุดท้ายเพื่อคนหนึ่งคนได้กดชัดเตอร์เก็บแสงหล้าสีส้มแดงไฟไม่ร้อน แต่นุ่มนวลและย้ำซ้ำๆ ไม่มีอีกครั้งตลอดกาลของชีวิตคนๆนั้นดอกไม้กำลังบานข้างทาง บางคนไม่เห็น แต่บางคนเห็น และบางคนเห็นอย่างแตกต่างและลึกซึ้งกว่าบางคนนี่พอเป็นคำตอบหรือไม่

ป่าต่ำ มนุษย์แลกด้วยการทำลาย เพื่อเปลี่ยนเป็นบ้าน แปลงนา ที่สวนไร่

สัตว์ป่าอาศัยป่าต่ำจำต้องหมดไป เพราะไม่มีป่า จะมีสัตว์ป่าเก้งกวางทำไมหน้าที่ของมนุษย์อีกเช่น กัน กำจัด สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์อีกต่อไปเหมือนเสือกำจัดสัตว์กินพืช เพื่อสร้างสมดุลย์สัตว์ป่าไม่จำเป็นต้องมีมาก เพราะมนุษย์จำเป็นต้องมีมากขึ้นเพื่อเร่งการทำลายกาลเวลาพามนุษย์ค้นพบน้ำตกสวยแห่งหนึ่งทุกคนตื่นตากับน้ำตกแสนสวยด้วยความดีใจ เหยียบย่ำมอสเฟินจนแหลกพินาศการเหยียบย่ำเป็นฝีมือมนุษย์ สลายของความชุ่มน้ำ การจากไปชั่วนิรันดรของพืชชุ่มน้ำมนุษย์ต้องเรียนรู้ผลร้ายสลายล่มหายนิจนิรัน งานยังไม่เสร็จ น้ำตกรายต่อไปกล้วยไม้ป่าดอกงามเล่าขานถึงความสวยงามยามชมป่า กลายเป็นตลาดของผู้อยากได้ครอบครองนกป่า กลาดเกลื่อนในห้องอินเตอร์เนท และสุดท้ายความจริงนกป่าเป็นเงินสดในตลาดขายนกป่าจตุจักรดำน้ำชมปลาทะเล กลายเป็นที่มา ปลาตู้ทะเล และประการังล้วนสนองคำถามว่า ทำไมคนจึงทำลายธรรมชาติมนุษย์กลายเป็นไวรัสพันธุ์การเมือง ข้าราชการนักธุรกิจรีสอร์ท บางส่วนกลายเป็นนักท่องเที่ยวทุกย่ำก้าวในป่า แหวกว่ายในทะเล คือการทำลาย เพราะนี่คือหน้าที่ของมนุษย์

ธรรมชาติเจ้าแห่งกาลเวลา สร้างนักอนุรักษ์ทำไม

ถ้าหน้าที่ของมนุษย์คือการทำลายล้างโลกโลกหมุนสู่การล่มสลายตั้งแต่เริ่มมีมนุษย์ใน อดีตพบเห็นได้ง่ายใน ปัจจุบันการล่มสลาย อนาคต รออยู่อย่างแท้จริงธรรมชาติไม่จำเป็นต้องใช้นักอนุรักษ์มากนักนักอนุรักษ์ คือนักประวัติศาสตร์เก็บความจริงทางวิทยาศาสตร์สู่สมองขับเคลื่อนโลกไปสู่จุดหมายสุดท้ายนักอนุรักษ์ คือ ศิลปิน นักปรัชญา หน้าที่ กวาดต้อน เก็บความขมขื่น เศร้าสะเทือนอารมณ์เพื่อให้เรื่องเหล่านี้ แสดงพลังมากพอ จนเกิดคำถาม…….คำถามที่ยิ่งใหญ่ทำไมธรรมชาติมอบหน้าที่โหดร้ายที่สุดแก่มนุษย์พร้อมวนเวียนกับความทุกข์แสนเศร้าเสียดายบทเรียนอะไรซ่อนเป็นปริศนา ที่ยังไม่รู้อีกมากแค่ไหนหรือนี่คือหนทางหนีของการบงการเจ้าแห่งเวลาคิด ปฏิบัติอย่างไร หากเราถึงเวลาล่มสลายมีผู้รอดสามารถอยู่เหนือกาลเวลาได้หรือไม่

แบบฝึกหัดบทที่5 การจัดการสารสนเทศ

แบบฝึกหัด

บทที่5 การจัดการสารสนเทศ                                                                กลุ่มเรียนที่1

รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน                        รหัสวิชา0026 008

ชื่อนางสาวปติญญา  โคตะ                                                                    รหัส56010111558

คำชี้แจง   จงตอบคำถามต่อไปนี้

1.จงอธิบายความหมายของการจัดการสารสนเทศ

ตอบ   การจัดการสารสนเทศ หมายถึง การทำกิจกรรมหลัก ต่างๆ ในการจัดหา การจัดโครงสร้าง (organization) การควบคุม ผลิต การเผยแพร่และการใช้สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานขององค์การทุกประเภทอย่างมีประสิทธิผล ซึ่งสารสนเทศในที่นี้หมายถึงสารสนเทศทุกประเภทที่มีคุณค่าไม่ว่าจะมีแหล่งกำเนิดจากภายในหรือภายนอกองค์การ (Wilson 2003 อ้างใน Kirk, 2005, p.21)

การจัดการสารสนเทศ หมายถึง กระบวนการดำเนินงาน เช่น ทำดรรชนี การจัดหมวดหมู่ การจัดแฟ้มการทำรายการเพื่อการเข้าถึงเอกสารหรือสารสนเทศที่มีการบันทึกไว้ในรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่จดหมายเหตุ

(archive) เชิงประวัติ ถึงข้อมูลดิจิทัล (Middleton, 2002, p.13)

การจัดการสารสนเทศ หมายถึง การดำเนินการกับสารสนเทศในระดับองค์การ ได้แก่ การวางแผน การ จัดสรรงบประมาณ การจัดโครงสร้างองค์การ การจัดเจ้าหน้าที่ การกำหนดทิศทาง การฝึกอบรม และการ

ควบคุมสารสนเทศ (Bent, 1999 อ้างใน Myburgh, 2000, p.10)

กล่าวโดยสรุป การจัดการสารสนเทศ ความหมายถึง การผลิต จัดเก็บ ประมวลผล ค้นหา และเผยแพร่ สารสนเทศโดยจัดให้มีระบบสารสนเทศ การกระจายของสารสนเทศ ทั้งภายในและภายนอกองค์การ โดยมีการนำเทคโนโลยีต่างๆ โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารมาใช้ในการจัดการ รวมทั้งมีนโยบาย หรือ กลยุทธ์ระดับองค์การในการจัดการสารสนเทศ

 

 

 

2.การจัดการสารสนเทศมีความสำคัญต่อบุคคลและต่อองค์การอย่างไร

ตอบ  2.1 ความสำคัญของการจัดการสารสนเทศต่อบุคคล

     การจัดการสารสนเทศมีความสำคัญต่อบุคคลในด้านการดำรงชีวิตประจำวัน การศึกษา และการทำงานประกอบอาชีพ ต่างๆ การจัดการสารสนเทศอย่างเป็นระบบ โดยการจัดทำฐานข้อมูลส่วนบุคคล รวบรวมทั้งข้อมูลการดำรงชีวิต การศึกษา และการทำงานประกอบอาชีพต่างๆ ในการดำรงชีวิตประจำวัน บุคคลย่อมต้องการสารสนเทศหลายด้านเพื่อใช้ชีวิตได้อย่างราบรื่น มีความก้าวหน้า และมีความสุข อาทิ ต้องการสารสนเทศเพื่อการดูแลรักษาสุขภาพ ต้องจัดการค่าใช้จ่ายในครอบครัว ค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล การดูแลอาคารที่อยู่อาศัยต่างๆ ตลอดจนการเลี้ยงดูคนในครอบครัวให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถที่ทำคุณประโยชน์แก่สังคม จึงจำเป็นต้องคัดกรองสารสนเทศที่มีอยู่มากมายจากหลายแหล่งเพื่อจัดเก็บ จัดทำระบบ และเรียกใช้ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วความสำคัญในด้านการศึกษา การจัดการสารสนเทศด้านระบบการศึกษา เอื้ออำนวยให้บุคคลสามารถเลือกระบบการศึกษา การเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสมกับบุคคลแต่ละคน สามารถเรียนรู้และศึกษาได้ตลอดเวลาตามความสนใจเฉพาะตน โดยไม่จำเป็นต้องสอบเข้าศึกษาตามสถาบันการศึกษาที่จัดระบบที่มีชั้นเรียนตลอดไป บุคคลสามารถเลือกศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษา ติดต่อกับสถาบันการศึกษาในระบบเปิดหรือเรียนทางระบบออนไลน์ และเลือกเรียนได้ทุกระดับการศึกษา ทุกวัย นับเป็นปรัชญาการศึกษาตลอดชีวิต ความสำคัญในด้านการทำงาน บุคคลจำเป็นต้องใช้สารสนเทศทั้งที่เกี่ยวข้องกับองค์การ ภาระหน้าที่ ประกอบการทำงานทั้งระดับบริหารและระดับปฏิบัติการ การจัดเก็บสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบตามภารกิจส่วนตน ช่วยสนับสนุนให้สามารถทำงานให้ประสบความสำเร็จได้ทันการณ์ ทันเวลา

        2.2 ความสำคัญของการจัดการสารสนเทศต่อองค์การ

    การจัดการสารสนเทศมีความสำคัญต่อองค์การในด้านการบริหารจัดการ การดำเนินงาน และกฎหมาย ดังนี้

      1) ความสำคัญด้านการบริหารจัดการ การบริหารจัดการในยุคโลกาภิวัตน์เป็นการบริหารภายใต้สภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และมีการแข่งขันกันทางธุรกิจสูง ผู้บริหารต้องอาศัยสารสนเทศที่เกี่ยวข้องทั้งกับสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์การ เพื่อวิเคราะห์ปัญหา ทางเลือกในการแก้ปัญหา การตัดสินใจ การกำหนดทิศทางขององค์การ ให้สามารถแข่งขันกับองค์การคู่แข่งต่างๆ จึงจำเป็นต้องได้รับสารสนเทศ ที่เหมาะสม ถูกต้อง ครบถ้วน ทันการณ์ และทันสมัย เพื่อใช้ประกอบภารกิจตามหน้าที่ ตามระดับการบริหาร การจัดการสารสนเทศจึงนับว่ามีความสำคัญ ความจำเป็นที่ต้องมีการออกแบบระบบการจัดการสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ การเลือกใช้เครื่องมือ เทคโนโลยี รวมทั้งกำหนดนโยบาย กระบวนการและกฎระเบียบ เพื่อจัดการสารสนเทศให้เหมาะกับสภาพการนำสารสนเทศไปใช้ในการบริหารงาน ในระดับต่างๆไม่ว่าจะเป็นระดับต้นหรือปฏิบัติการ ระดับกลาง และระดับสูง ให้สามารถบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

     2) ความสำคัญด้านการดำเนินงาน สารสนเทศนับมีความสำคัญต่อการดำเนินงานในหลายลักษณะ เป็นทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการดำเนินงาน และหลักฐานที่บันทึกการดำเนินงานในด้านต่างๆ ตามที่หน่วยงานดำเนินการ การจัดการสารสนเทศช่วยให้การใช้สารสนเทศเพื่อรองรับการปฏิบัติงานตามกระแสงานหรือขั้นตอน จึงสามารถเพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการดำเนินงาน เอื้อให้เข้าถึงและใช้สารสนเทศได้อย่างสะดวก การเป็นหลักฐานที่บันทึกการดำเนินงานเช่น สัญญาการตกลงลงนามร่วมกิจการระหว่างองค์การ รายงานทางการเงินประจำปี เป็นต้น เป็นสารสนเทศที่หน่วยงานผลิตและใช้ประกอบการดำเนินงานตาม ภาระหน้าที่ ตามข้อกำหนด ระเบียบ และแนวปฏิบัติในองค์การ สารสนเทศเหล่านี้ต้องมีการรวบรวม ประมวล และจัดอย่างเป็นระบบเพื่อให้มีความเป็นปัจจุบัน ถูกต้อง ครบถ้วนและเหมาะสมกับงานนั้น และในการจัดการ สารสนเทศที่แม้สิ้นสุดกระบวนการปฏิบัติงานแล้ว โดยเฉพาะสารสนเทศที่มีคุณค่า ยังต้องมีการจัดเก็บเป็นจดหมายเหตุเพื่อการใช้ประโยชน์

    3) ความสำคัญด้านกฎหมาย การจัดการสารสนเทศเพื่อการดำเนินงาน จำเป็นต้องสอดคล้องกับกฎหมาย กฎ ระเบียบและข้อบังคับทั้งในระดับภายในและภายนอกองค์การ โดยเฉพาะสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการเงินและบัญชีที่ต้องรวบรวมจัดเก็บอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบ รวมทั้งมีการตรวจสอบความถูกต้องทั้งจากหน่วยงานภายในองค์การ หรือจากหน่วยงานภายนอกตามกฎหมาย เช่น ผู้ตรวจสอบบัญชีตามกฎหมายของหน่วยงานราชการ เช่น กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และหน่วยงานเอกชน เป็นต้น เพื่อเป็นการแสดงสถานะทางการเงินขององค์การอย่างถูกต้อง และเป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับต่างๆ อย่างครบถ้วน ทั้งนี้เนื่องจากการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับต้องมีบทลงโทษ

 

 

 

3.พัฒนาการของการจัดการสารสนเทศแบ่งออกเป็นกี่ยุค  อะไรบ้าง

ตอบ   2 ยุค เป็นการจัดการสารสนเทศด้วยระบบมือ และการจัดการสารสนเทศโดยใช้คอมพิวเตอร์

   3.1 การจัดการสารสนเทศด้วยระบบมือ

การจัดการสารสนเทศเริ่มต้นเมื่อมีการสร้างอารยธรรมในด้านการบันทึกความรู้ ราว 2,000 – 8,000 ปีก่อนคริสตศักราช อียิปต์โบราณใช้กระดาษปาปิ รัสเขียนบันทึกข้อมูล หอสมุดอเล็กซานเดรีย (Library of Alexandria) สร้างโดยพระเจ้าปโทเลมีที่ 1 ในช่วง 285 ปีก่อนคริสตศักราช เป็นคลังความรู้ที่ยิ่งใหญที่สุดในโลกยุคโบราณ จัดเก็บกระดาษปาริรัสที่เขียนบันทึกวิชาการแขนงต่างๆ ถึง 7 แสนกว่าม้วนไว้ในกระบอกทรงกลม และต่อมาในได้มีการใช้หนังสัตว์เย็บเป็นรูปเล่มหนังสือ เรียกว่าโคเด็กซ์ (codex) ในสมัยของเปอร์กามัม(Pergamum) แห่งกรีก ในช่วง 197-159 ปีก่อนคริสตศักราช

ช่วงศตวรรษที่ 12 เกิดสถาบันการศึกษาที่เป็นทางการ ห้องสมุดของสถาบันการศึกษา เช่นมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ยังคงจัดระบบหนังสือในลักษณะเดียวกับห้องสมุดวัด นอกจากจัดหนังสือตามสาขาวิชาแล้ว ยังจัดตามขนาด และเลขทะเบียนหนังสือ หนังสือที่สำคัญมากยังคงถูกล่ามโซ่อยู่กับโต๊ะในคริสต์ศตวรรษที่ 15 โยฮานน์ กูเต็นเบิร์ก (Johannes Gutenberg) ชาวเยอรมันคิดเครื่องพิมพ์ขึ้น พิมพ์หนังสือเล่มแรกของยุโรปคือ ไบเบิลในภาษาละติน เมื่อการพิมพ์แพร่ จึงมีการพิมพ์หนังสือ ทั้งตำรา สารคดีบันเทิงคดี พัฒนาเป็นวารสาร หนังสือพิมพ์ จุลสาร กลางศตวรรษที่ 15 กิจการพิมพ์หนังสือมีอยู่ในเมืองใหญ่ๆ ทั่วยุโรป

ศตวรรษที่ 16 กิจการการค้าหนังสือแพร่จากทวีปยุโรปสู่ทวีปอื่นทางเส้นทางการค้าและพัฒนาเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ส่งผลให้หนังสือจัดเป็นส่วนหนึ่งของชนทุกชั้น ลักษณะของหนังสือเปลี่ยนไป ขนาดเล็กลงใช้สะดวกขึ้น ไม่มีสื่อประเภทใดที่เป็นเครื่องมือค้นสื่อที่จัดเก็บแลเผยแพร่ได้อย่างมีประสิทธิภาพเทียบเท่าหนังสือเป็นระยะเวลายาวนาน (Feather 2002 : 24)

การจัดการสารสนเทศในระยะแรก สื่ออยู่ในรูปของสื่อสิ่งพิมพ์ การจัดการสารสนเทศเน้นระบบมือโดยรวบรวมรายชื่อหนังสือที่มีการผลิตและเผยแพร่ และเทคนิคในการจัดเก็บเอกสารระยะแรกเ เป็นการจัดเรียงตามขนาดของรูปเล่มหนังสือ ตามสีของปก ตามลำดับอักษรชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่องหนังสือ เลขทะเบียน ตามลำดับก่อนหลังของหนังสือที่ห้องสมุด หน่วยงานได้รับ และรวมทั้งการกำหนดสัญลักษณ์ขึ้นเป็นตัวเลขและ/หรือตัวอักษรเพื่อแทนเนื้อหาสาระของสิ่งพิมพ์ แสดงให้ทราบว่าจะค้นสื่อที่ต้องการจากที่ใด ฉบับใด หรือจากหน้าใดในการค้น มีการจัดทำบัญชีรายการหนังสือ เอกสาร เป็นเล่มเพื่อใช้ค้นและเป็นบัญชีคุมหนังสือและ

เอกสารด้วย ต่อมายังมีการจัดทำเป็นแคตาล็อก (catalog) หรือบัตรรายการหนังสือ ในระยะแรกเป็นเพียงบัญชีรายชื่ออย่างหยาบๆ ต่อมามีรายละเอียดของหนังสือมากขึ้น และบอกเนื้อหาไว้ในบัญชีรายชื่อด้วย โดยมีการควบคุมบรรณานุกรม (bibliographic control) เป็นการรวบรวมจัดทำบรรณานุกรมหรือรายการทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือค้นหา ค้นคืนสื่อรูปแบบต่างๆ ทั้งหนังสือ สื่อบันทึกเสียง ภาพ และอื่นๆ ที่ประดิษฐ์ขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 19

การจัดเก็บสารสนเทศ ยังมีพัฒนาการระบบการจัดหมวดหมู่ (classification scheme) ใน ค.ศ. 1876 มีการคิดระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือระบบทศนิยมดิวอี้ (Dewey Decimal Classification – DDC) เป็นการวิเคราะห์เนื้อหาสารสนเทศเพื่อกำหนดเป็นหมวดหมู่ใหญ่ ย่อย ลดหลั่นจากเนื้อหากว้างๆ จนถึงเนื้อหาเฉพาะเพื่อให้สัญลักษณ์แทนเนื้อหาสารสนเทศเป็นตัวเลข และต่อมามีการพัฒนาการจัดหมวดหมู่โดยการใช้ตัวอักษรผสมตัวเลข หรือเครื่องหมายอื่นๆ แทนเนื้อหาของสารสนเทศ เป็นการจัดเก็บสิ่งพิมพ์อย่างเป็นระบบ และใช้เครื่องมือค้นจากแคตาล็อก

สำหรับการจัดการสารสนเทศในสำนักงาน ระบบดั้งเดิม ใช้ระบบมือ หรือกำลังคนเป็นหลัก การจัดการเอกสารซึ่งใช้กระดาษระยะแรกจัดเก็บตามการรับเข้า และส่งออกตามลำดับเวลา มีการจัดทำทะเบียนเอกสารรับเข้า – ส่งออกในสมุดรับ – ส่งและจัดทำบัญชีรายการเอกสารด้วยลายมือเป็นรูปเล่ม ต่อมาพัฒนาเป็นจัดเก็บเอกสารโต้ตอบเฉพาะเรื่องไว้ในแฟ้มเรื่องเดียวกันในตู้เก็บเอกสาร โดยพัฒนาเป็นหมวดหมู่ของระบบงานสารบรรณเอกสาร การจัดเก็บ อาจจัดเรียงตามลำดับอักษรชื่อหน่วยงาน ชื่อบุคคล ตามเนื้อหา ตัวเลข ตัวอักษรผสมตัวเลข ลำดับเวลา และตามรหัส และมีการทำดรรชนี กำหนดรหัสสี มีการทำบัตรโยงในตู้เก็บเอกสาร เป็นต้น เพื่อความสะดวกในการค้นหา มีการทำบัญชีรายการสำหรับค้นเอกสารสารบรรณ ที่ต่อมาใช้เครื่องพิมพ์ดีดแทน การเขียน

 

 

 

3.2 การจัดการสารสนเทศโดยใช้คอมพิวเตอร์

การจัดการสารสนเทศเกิดขึ้นโดยใช้คอมพิวเตอร์ เมื่อสารสนเทศมีปริมาณมากมาย รูปลักษณ์หลากหลายคอมพิวเตอร์มีพัฒนาการของจากอดีตถึงปัจจุบัน ปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว ในระยะแรก ตั้งแต่ ค.ศ. 1946 มีการประดิษฐ์คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่ใช้เทคโนโลยีหลอดสูญญากาศ ใช้ในงานค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ การสำรวจสำมะโนประชากร ซึ่งต่อมา เครื่องคอมพิวเตอร์พัฒนามาใช้เทคโนโลยีทรานซิสเตอร์ มีขนาดเล็กลง และนำมาใช้ในงานทางด้านคณิตศาสตร์และวิศวกรรม ช่วงทศวรรษที่ 1960 คอมพิวเตอร์เริ่มใช้แผงวงจรรวมหรือไอซี และแผงวงจรรวมขนาดใหญ่ และนำมาใช้งานการสื่อสารข้อมูล และงานฐานข้อมูล เพื่อลดภาระงานประจำโดยทรัพยากรอยู่ในรูปของกระดาษ เห็นได้ว่าคอมพิวเตอร์ถูกพัฒนานำมาใช้งานตามสมรรถนะที่เพิ่มขึ้น

ในระยะต่อมาเป็นการนำมาใช้พัฒนาเป็นระบบสารสนเทศในงานเฉพาะทางต่างๆ เช่น ระบบห้องสมุดมีการใช้คอมพิวเตอร์ในการทำบัตรรายการเป็นเครื่องมือช่วยค้นทรัพยากรสารสนเทศทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อโสตทัศนประเภทต่างๆ ระบบงานเอกสารสำนักงานปรับปรุงระบบการทำงานให้เป็นอัตโนมัติมากขึ้นในช่วง ค.ศ.1970 จึงนำมาจัดเก็บข้อมูลซึ่งเป็นข้อมูลจากกระดาษ จัดเก็บในลักษณะแฟ้ มข้อมูล ต่อมา ได้เริ่มพัฒนาระบบจัดการฐานข้อมูล เพื่อเอื้อต่อการจัดการสารสนเทศได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และลดความซ้ำซ้อนขึ้น

พัฒนาการของคอมพิวเตอร์ในระยะหลังเป็นไปอย่างรวดเร็ว และเพิ่มสมรรถนะขึ้นอย่างมากมายตามยุคต่างๆ ในยุคหลังๆ จึงใช้ในงานที่สามารถหาเหตุผลด้วยวิธีการต่างๆ รวมทั้งเลียนแบบวิธีคิดของมนุษย์

ช่วงค.ศ. 1980 เป็นต้นมาพัฒนาการคอมพิวเตอร์ก้าวหน้าขึ้น อาทิ ไมโครคอมพิวเตอร์แม้มีขนาดเล็กลงแต่มีสมรรถนะมากขึ้น มีการใช้คอมพิวเตอร์จัดการสารสนเทศในงานต่างๆ ทั้งการศึกษา การแพทย์ ธุรกิจ เป็นต้น โดยจัดทำระบบฐานข้อมูลช่วยงานด้านต่างๆทั้งการบริหาร การตัดสินใจที่ใช้ง่ายและดีกว่าเดิม ระบบสารสนเทศมุ่งตอบสนองทั้งความต้องการส่วนบุคคลของผู้ใช้ และการตอบสนองความต้องการในการทำงานตามหน้าที่ในองค์การมากขึ้น และเปลี่ยนจากเพิ่มประสิทธิผลไปสู่การใช้งานเชิงกลยุทธ์

การใช้คอมพิวเตอร์ในระยะตั้งแต่ ค.ศ. 1990 เป็นต้นมา การพัฒนาระบบเครือข่ายโดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูล และการใช้อินเทอร์เน็ต ทำให้การจัดการระบบฐานข้อมูลผ่านระบบออนไลน์อย่างกว้างขวาง ขยายการทำงาน การบริการ การค้า ธุรกิจ การคมนาคม การแพทย์ เป็นต้น กระทำได้อย่างกว้างขวางในลักษณะเครือข่ายความร่วมมือใช้สารสนเทศร่วมกัน สื่อสารสารสนเทศทั้งตัวอักษร ภาพ เสียงเพื่อการดำเนินงานระหว่างองค์การของทั้งหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน

 

 

4.จงยกตัวอย่างการจัดการสารสนเทศที่นิสิตใช้ในชีวิตประจำวันมา อย่างน้อย3ตัวอย่าง

ตอบ   1.การจัดการเงินในการใช้จ่ายซื้ออาหาร ข้าวของเครื่องใช้ในแต่ละวัน

          2.การจัดการแบ่งเวลาในการเรียน การพักผ่อน และทำกิจวัตรประจำวันในแต่ละวัน

         3.การจัดการในเรื่องของควบคุมอาหารเพื่อสุขภาพและออกกำลังกายในแต่ละวัน

แบบฝึกหัดบทที่4 เทคโนโลยีสารสนเทศ

แบบฝึกหัด

บทที่4 เทคโนโลยีสารสนเทศ                                                                                                                 กลุ่มเรียนที่1

รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน                                                                    รหัสวิชา0026 008

ชื่อนางสาวปติญญา  โคตะ                                                                                                                    รหัส56010111558

คำชี้แจง จงตอบคำถามต่อไปนี้

1.ให้นิสิตยกตัวอย่างอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศตามหัวข้อต่อไปนี้ อย่างน้อยข้อละ 3 ชนิด แล้วแลกเปลี่ยนกันตรวจสอบกับเพื่อน

1) การบันทึกข้อมูลและจัดเก็บข้อมูล  

ตอบ  1.ดาวเทียมถ่ายภาพทางอากาศ

2.เทปแม่เหล็ก จานเเม่เหล็ก

3.บัตรเอทีเอ็ม ATM

2)การแสดงผล

ตอบ   1.เครื่องพิมพ์

2.จอภาพ

3.พลอตเตอร์

3)การประมวลผล

ตอบ  เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์เเวร์

4)การสื่อสารและเครือข่าย

ตอบ  1.วิทยุ

2.โทรทัศน์

          3.โทรเลข

ให้นิสิตนำตัวเลขในช่องขวา มาเติมหน้าข้อความในช่องซ้ายที่มีความสัมพันธ์กัน

ซอฟต์แวร์ประยุกต์

ตอบ 3. เทคโนโลยีต่างๆ ที่นำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินการเกี่ยวกับสารสนเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้องแม่นยำ และความรวดเร็วต่อการนำไปใช้

Information Technolog

ตอบ  6.เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมและเทคโนโลยีอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

คอมพิวเตอร์ในยุคประมวลผลข้อมูล

ตอบ 1.ส่วนใหญ่ใช้ทำหน้าที่คำนวณ ประมวลผล

เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย

ตอบ 4.มีองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ส่วนได้เเก่ Sender Medium และDecoder

ช่วยเพิ่มผลผลิต เพิ่มต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

ตอบ 10.ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ

ซอฟต์แวร์ระบบ

ตอบ  7.โปรแกรมที่ทำหน้าที่ใช้ควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ภายในระบบคอมพิวเตอร์

การนำเสนอบทเรียนในรูปมัลติมีเดียที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ตามระดับความสามารถ

ตอบ 9.CAI

EDI

ตอบ 8.โปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ จัดเป็นซอฟต์เเวร์ประเภท

การสื่อโทรคมนาคม

ตอบ  5.การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการรับ-ส่งเอกสารจากหน่วยงานหนึ่งไปยังอีกหน่วยงานหนึ่งโดยส่งผ่านเครือข่าย

บริการชำระภาษีออนไลน์

ตอบ 2.e-Revenue